ความชัดเจนของ Red Hat ในประเทศไทย หลังรวมไอบีเอ็ม

ความชัดเจนการดำเนินธุรกิจของ Red Hat ในประเทศไทย หลังบิ๊กดีล 3.4 หมื่นล้าน ผู้บริหารย้ำ มีอิสระในการบริหารและการดำเนินธุรกิจจากไอบีเอ็ม เพิ่มโอกาสเข้าถึงแพลตฟอร์มมัลติคลาวด์แบบไฮบริด บนเทคโนโลยี ลินุกซ์และคูเบอร์เนทิส
หลังจากที่เร้ดแฮทกลายเป็นส่วนหนึ่งของไอบีเอ็ม (อ่าน IBM ปิดดีลซื้อ Red Hat 3.4 หมื่นล้านดอลลาร์) การเข้าซื้อกิจการครั้งนี้ ถูกมองในเชิงกลยุทธ์ของทั้งสองบริษัท ที่ผนวกเอาเทคโนโลยีไฮบริดคลาวด์แบบโอเพ่นของเร้ดแฮทเข้ากับนวัตกรรมและความเชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมต่างๆ ของไอบีเอ็ม
ผลพวงจากการซื้อกิจการนั้น เร้ดแฮท อิงค์ จะยังอยู่ภายใต้การนำของ จิม ไวท์เฮิร์สท์ และทีมผู้บริหารปัจจุบันต่อไป โดย ไวท์เฮิร์สท์ จะเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของทีมผู้บริหารระดับสูงของไอบีเอ็ม และรายงานตรงต่อ จินนี โรเม็ตตี ประธานบริษัท ประธานกรรมการ และซีอีโอของไอบีเอ็ม
โดยสำนักงานใหญ่ของเร้ดแฮทจะคงอยู่ที่เมืองราลีห์ รัฐนอร์ธแคโรไลนา ภายใต้รูปแบบสำนักงาน แบรนด์ และแนวทางปฏิบัติแบบเดิม ทั้งนี้ เร้ดแฮทจะดำเนินการเป็นส่วนงานที่แยกออกมาชัดเจนภายในไอบีเอ็ม และจะรายงานผลประกอบการเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มธุรกิจคลาวด์และค็อกนิทิฟซอฟต์แวร์
สำหรับ เร้ดแฮท ในประเทศไทยนั้น ได้รับการเปิดเผยล่าสุดจาก เดเมียน วอง รองประธานและผู้จัดการทั่วไป ตลาดเกิดใหม่ที่มีศักยภาพ ประจำภูมิภาคอาเซียน เร้ดแฮท เกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจของเรดแฮ้ท ประเทศไทย ว่า
“ความชัดเจนในการดำเนินธุรกิจของเรดแฮ้ท ประเทศไทย ภายหลังการซื้อกิจการ ขอยืนยันว่า เร้ดแฮท ประเทศไทย ยังคงมีมีอิสระในการบริหารและการดำเนินธุรกิจที่เหมือนเดิม ทั้งในแง่ของการบริหารลูกค้า การบริหารบุคลากร การบริหารงบประมาณและการลงทุน กลยุทธ์ทางการตลาด รวมถึงผลิตภัณฑ์และบริการ โดยที่คงไว้ซึ่งวัฒนธรรมองค์กรเช่นเดิม”
“แต่สิ่งที่เกิดขึ้นและถือว่าประโยชน์สูงสุดกับการรวมกันครั้งนี้คือ โอกาสในการสร้างนวัตกรรม รวมถึงความสามารถในการบริหารข้อมูลของลูกค้าด้วยแพลตฟอร์มมัลติคลาวด์แบบไฮบริด บนเทคโนโลยีโอเพ่นซอร์สอย่างลินุกซ์และคูเบอร์เนทิส (Kubernetes) เพิ่มทางเลือก และความยืดหยุ่นในการจัดการโครงสร้างพื้นฐานขององค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ”
“ความชัดเจนอีกประการคือ ในเชิงของการนำเสนอผลิตภัณฑ์เข้าสู่ตลาด ยังไม่มีนโยบายในการนำเอาผลิตภัณฑ์ของทั้งเรดแฮ้ทและไอบีเอ็มมาผนวกรวมกัน ทั้งสองบริษัทยังมีอิสระในการสร้างหรือพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้วยความถนัดหรือองค์ความรู้ของตัวเอง”
“สิ่งที่จะเกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมคือ เทคโนโลยีของเรดแฮ้ท จะสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับลูกค้าของไอบีเอ็มอย่างมาก เหมือนการปิดช่องว่างด้วยเทคโนโลยีของเรา รวมถึงในมุมที่จะเป็นประโยชน์ต่อเรดแฮ้ทคือ ด้วยประสบการณ์และจำนวนลูกค้าของไอบีเอ็มจะเป็นการเร่งให้เกิดการเพิ่มจำนวนการใช้งานเทคโนโลยีของเรดแฮ้ทให้มากขึ้น สิ่งนี้ถือประโยชน์ต่อลูกค้าอย่างแท้จริง” เดเมียน วอง สรุป
There are no comments at the moment, do you want to add one?
Write a comment