พระจอมเกล้าลาดกระบัง สร้าง Network Interoperability ด้วยสถาปัตยกรรม SDN ของหัวเว่ย

กรณีศึกษาของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง กับการปรับเปลี่ยนสถาปัตยกรรมเครือข่ายให้อยู่ในรูปแบบ Software Defined Network ด้วยหัวใจสำคัญของระบบ Agile Controller และแพลตฟอร์มบริหารจัดการ eSight ของหัวเว่ย
สจล. กับเป้าหมายสถาบันเทคโนโลยีแห่งอาเซียน
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) เป็นสถาบันการศึกษาในระดับอุดมศึกษาที่มุ่งมั่นให้การศึกษาและวิจัยเพื่อผลิตทรัพยากรมนุษย์ที่มีความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ควบคู่จริยธรรม โดยตั้งเป้าหมายการพัฒนาไปสู่สถาบันอุดมศึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 1 ใน 10 ของภูมิภาคอาเซียน ในปี ค.ศ.2020
การก้าวไปสู่เป้าหมายนั้น ต้องอาศัยหลายปัจจัยประกอบกัน ทั้งโครงสร้างการบริหารที่ดี ความเข้มแข็งทางวิชาการในระดับสากล พื้นฐานการเรียนการสอนและหลักสูตรที่ทันสมัย รวมถึง โครงสร้างพื้นฐานทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เพื่อสนับสนุนความเป็นเลิศทางการศึกษา วิจัย ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระดับนานาชาติของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
ความท้าทายของโครงสร้างพื้นฐานไอซีที
การขับเคลื่อนไปสู่เป้าหมายของสจล. โดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบไอซีที เป็นหนึ่งในบทบาทสำคัญของ สำนักบริการคอมพิวเตอร์ ที่ต้องรับผิดชอบดูแล บำรุงรักษาเครื่องและระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ ให้บริการคอมพิวเตอร์ ระบบอินเทอร์เน็ต ระบบเครือข่ายและการสื่อสารข้อมูล อย่างมีประสิทธิภาพ และมีเสถียรภาพ
กฤษฏิ์ธนิก ศรีธนสาร หัวหน้าฝ่ายระบบเครือข่ายการสื่อสารสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังอธิบายว่า “ในฐานะผู้ดูแลระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของสถาบันฯ ต้องทำให้เครือข่ายมีความพร้อมตลอดเวลา เพื่อรองรับการใช้งานของบุคลากรหลักหมื่นคน ความท้าทายประการหนึ่งของระบบเครือข่ายคือ ทุกระบบ ทุกอุปกรณ์เครือข่ายสามารถทำงานด้วยกันได้บนความหลากหลายของอุปกรณ์เครือข่าย”
“รวมถึง การบริหารเครือข่ายบนความซับซ้อนมากขึ้นทราฟิกจำนวนมหาศาลที่มีโอกาสเกิดขึ้นในเครือข่าย กระทั่งภัยคุกคามต่างๆ ที่จะเข้ามาในอนาคต เพราะฉะนั้นฝ่ายระบบเครือข่ายการสื่อสารจึงจำเป็นต้องมองหาระบบเครือข่ายในรูปแบบใหม่”
โดยหัวหน้าฝ่ายระบบเครือข่ายการสื่อสารอธิบายถึงประเด็นสำคัญที่ระบบเครือข่ายใหม่จะต้องมี ซึ่งประกอบด้วย ประการแรกความสามารถในการลดความซ้ำซ้อนของระบบประการที่สองระบบต้องเพิ่มความน่าเชื่อถือและประสิทธิภาพของระบบได้อย่างดี
ประการที่สามง่ายต่อการดูแลรักษาเพื่อความสะดวกในการบริหารจัดการตรวจสอบและเฝ้าระวังประการที่สี่มีเสถียรภาพสูงและทนต่อสภาพแวดล้อมที่หลากหลาย และประการสุดท้าย ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญมากนั่นคือ ความยืดหยุ่นของระบบและอุปกรณ์ สามารถเชื่อมต่อและทำงานร่วมกับอุปกรณ์หรือระบบทั่งเก่าและใหม่ได้อย่างดี รองรับการย้ายระบบ ในอนาคต
สร้างงานง่ายด้วย Agile Controller
การก้าวข้ามความท้าทายด้านเครือข่ายของสจล.นั้น กฤษฏิ์ธนิก ศรีธนสาร อธิบายถึงการปรับเปลี่ยนสถาปัตยกรรมเครือข่ายให้อยู่ในรูปแบบ ซอฟต์แวร์เป็นตัวกำหนด (Software Defined Network: SDN) เหตุเพราะ ง่ายต่อการบริหารจัดการ ด้วยการควบคุมเพียงจุดเดียวมีการตอบสนองต่อการคุกคามต่างๆ ด้วยกลไกในการป้องกันที่ชาญฉลาดสามารถรองรับระบบฐานข้อมูลใหม่ๆ ตลอดจนมีแนวโน้มสอดรับกับอนาคตของ Unified Systemต่างๆ
“แต่หัวใจสำคัญของระบบคือส่วนของ Agile Controller ของหัวเว่ยซึ่งเป็นระบบควบคุมทรัพยากรในเครือข่ายสำหรับผู้ใช้และแอพพลิเคชั่นต่างๆ ตามหลักการควบคุมแบบรวมศูนย์ของระบบเครือข่ายที่กำหนดโดยซอฟต์แวร์ (SDN)”
“Agile Controller สามารถกำหนดนโยบายการบริหารทรัพยากรและความปลอดภัยของทั้งระบบเครือข่ายภายในสถาบันฯ ได้จากศูนย์กลาง ทำหน้าที่เหมือนสมองกลของเครือข่ายอัจฉริยะมีความคล่องตัวในการให้บริการมากขึ้นโดยเมื่อเมื่อเปรียบเทียบกับระบบเครือข่ายสำหรับสถานศึกษาแบบเดิม ระบบนี้สามารถช่วยในหลายๆ ประเด็น”
“ยกตัวอย่างเช่น ให้บริการระบบเครือข่ายได้รวดเร็วกว่าเดิม, ให้คุณภาพของเครือข่ายสำหรับผู้ใช้ที่ประทับใจมากกว่า สามารถเปิดส่วนบริการใหม่ๆ ได้ง่าย เช่น ระบบการให้สิทธิและบริหารสิทธิการเข้าถึงเครือข่ายของผู้ใช้งาน ระบบกล้องวิดีโอ และสำนักงานเคลื่อนที่แบบเรียลไทม์”
“สามารถลดเวลาในการจัดการด้าน การดำเนินงานและการบำรุงรักษาของเครือข่ายจากหลายเดือนเป็นเพียงไม่กี่นาที และสามารถแก้ไขข้อจำกัดต่างๆ เพื่อยกระดับสถานศึกษาไปสู่เป้าหมายใหญ่ ด้วยความพร้อมของเครือข่าย” กฤษฏิ์ธนิกกล่าว
บริหารจัดการครบวงจรบนแพลตฟอร์ม eSight
“สำหรับ การจัดการระบบเครือข่ายทั้งหมดนั้น ได้เลือกใช้แพลตฟอร์มการจัดการแบบครบวงจร eSight ของหัวเว่ย ที่รองรับระบบการวางแผนโครงสร้างพื้นฐานด้วยระบบการจัดการและแอพพลิเคชั่นการแจ้งรายงานได้ในทุกสภาพแวดล้อม มีอินเทอร์เฟซและคอนโซลเสมือนจริงที่ผู้ใช้สามารถกำหนดเองได้ ทำให้สามารถใช้คุณสมบัติการตรวจสอบและการจัดการได้อย่างง่ายดาย”
“การเฝ้าดูสถานะของเครือข่าย ทั้งการจัดเตรียมและจัดการอุปกรณ์และบริการต่างๆ บนเครือข่าย มาตรฐานการบริการ การวางนโยบายด้านความปลอดภัย, ช่องทางการเชื่อมต่อ MPLS, การเข้าถึง VPN และการทำรายงานวิเคราะห์ปริมาณการรับส่งข้อมูลบนเครือข่ายทุกอย่างสะดวกและมีประสิทธิภาพเพราะ eSight”
“ในฐานะที่ผมเป็นหัวหน้าฝ่ายระบบเครือข่ายการสื่อสารรู้สึกยินดีที่เป็นส่วนหนึ่งของเป้าหมายการก้าวไปสู่สถาบันอุดมศึกษาในระดับแถวหน้าของอาเซียนและจะไม่ยอมให้ระบบเครือข่ายกลายเป็นอุปสรรคขวางเป้าหมายครั้งนี้ ต้องขอบคุณหัวเว่ยและทีมงานที่ร่วมกันพัฒนาให้เครือข่ายของเราแข็งแกร่งและมีประสิทธิภาพ” กฤษฏิ์ธนิก สรุป
There are no comments at the moment, do you want to add one?
Write a comment