การปฏิรูปธุรกิจ Business Transformation วิธีปรับเปลี่ยนธุรกิจ SMEs ในยุคดิจิทัล (ตอนที่ 8) กรณีตัวอย่างการปฏิรูปธุรกิจสู่ Industry 4.0

“ลองศึกษา กรณีตัวอย่างการปฏิรูปธุรกิจสู่ Industry 4.0 โดยสมมติ บริษัท ขนมไทย จำกัด ที่ตัดสินใจเลือกแก้ปัญหาและพัฒนารูปแบบธุรกิจใหม่ด้วยแนวคิดของ Value Creation โดยอาศัยเทคโนโลยีดิจิทัลอย่างเป็นขั้นเป็นตอนตาม Digital Business Transformation Framework”
จากบทความในตอนที่ผ่านมา การปฏิรูปธุรกิจ Business Transformation วิธีปรับเปลี่ยนธุรกิจ SMEs ในยุคดิจิทัล (ตอนที่ 7) เป็นการยกกรณีตัวอย่างการปฏิรูปธุรกิจสู่ Industry 4.0โดยสมมติ บริษัทขนมไทยจำกัด ขึ้น และได้อธิบายตัดสินใจเลือกแก้ปัญหาและพัฒนารูปแบบธุรกิจใหม่ด้วยแนวคิดของ Value Creation โดยอาศัยเทคโนโลยีดิจิทัลอย่างเป็นขั้นเป็นตอนตาม Digital Business Transformation Framework
ขั้นที่ 1 Vertical Integration
สถานภาพการใช้ไอซีทีของบริษัทขนมไทยปัจจุบันอยู่ในขั้นเริ่มทำ Vertical Integration ประกอบด้วยระบบหลักได้แก่ระบบ Enterprise Resource Planning (ERP) และ Manufacturing Execution System (MES) แบบง่ายๆ
โดยระบบ ERP บันทึกรายการขายและค่าใช้จ่ายต่างๆ สามารถให้ข้อมูลเกี่ยวกับการขาย การซื้อ ค่าใช้จ่ายด้านคนงานและบุคลากร สามารถทำการวางแผนการผลิต และนำไปสู่การทำแผนใช้วัสดุเพื่อการผลิต (Material Requirement Planning)
บริษัทเริ่มใช้ระบบ Manufacturing Execution System เพื่อติดตามเฝ้าระวังกระบวนการผลิตจากต้นน้ำสู่กลางน้ำลักษณะกึ่งเรียวไทม์ และสามารถควบคุณการใช้วัสดุ การจัดการแรงงาน การบำรุงรักษาเครื่องจักรหลักๆ ได้ระดับหนึ่ง แต่ก็ยังไม่สมบูรณ์มาก
เนื่องจากการบูรณาการยังไม่สมบูรณ์ ข้อมูลเพื่อการจัดการก็ยังไม่สมบูรณ์ บริษัทยังมีปัญหาในเรื่องต้นทุนการผลิตที่เก็บไม่ครบถ้วนและยังไม่ถูกต้องนัก การจัดการวัสดุคงคลังก็ยังขาดบ้างเกินบ้าง วัสดุที่ซื้อมากเกินความจำเป็นยังค้างสะต๊อกจนบ่อยครั้งต้องแทงจำหน่ายเป็นของเสียไปก็ไม่น้อย
บริษัท ขนมไทย เริ่มโครงการใช้ Internet of Things (IoT) เพื่อช่วยประหยัดพลังงาน หวังที่จะควบคุมและลดค่าใช้จ่าย โดยเริ่มต้นติดตั้งอุปกรณ์ IoTและระบบซอฟต์แวร์ควบคุมด้านเปิดปิดการทำงานของอุปกรณ์และเครื่องจักรในจังหวะที่ไม่ใช้งาน และกลับมาเดินเครื่องปกติแบบอัตโนมัติ
โดยใช้ IoT ช่วยงานด้าน Preventive maintenance เพื่อให้อุปกรณ์และเครื่องจักรทุกตัวทำงานได้อย่างต่อเนื่อง สามารถแจ้งเหตุผิดปกติให้ผู้ควบคุมโรงงานรู้ล่วงหน้าก่อนที่อุปกรณ์และเครื่องจักรจะเกิดปัญหาจนเป็นเหตุให้สายการผลิตต้องหยุดชะงักได้
ขนมไทย ให้ความสนใจใช้เทคโนโลยีดิจิทัลช่วยปรับปรุงการเชื่อมโยงระบบหลักๆ ให้ข้อมูลจากแต่ละระบบที่ทำงานเป็นอิสระรวมกันเป็น Integrated Database เพื่อสามารถจัดการข้อมูลขององค์กรให้เป็นภาพรวมอย่างมีประสิทธิภาพ
นอกจากนี้ ยังเริ่มพัฒนา Mobile apps ให้ผู้บริหารเข้าถึงระบบข้อมูล โดยเฉพาะต้นทุนสินค้าได้ด้วยตนเองอย่างง่ายๆ ทุกเวลา และมีระบบแจ้งเหตุ (Notification) ในเหตุการณ์สำคัญๆ แบบเรียลไทม์จากหน่วยงานหลัก เช่นฝ่ายการผลิต ฝ่ายบริหารวัสดุคงคลัง ฝ่ายบริหารลูกหนี้รายใหญ่ ฯลฯ
ขั้นที่ 2 Horizontal Integration
บริษัทขนมไทยให้ความสนใจที่จะเชื่อมโยงกับโลกภายนอกมากขึ้น การเชื่อมโยงกับพันธมิตรผ่านเทคโนโลยีดิจิทัล เปลี่ยนแนวทางการทำธุรกิจจาก Closed System เป็น Open System น่าจะช่วยแก้ปัญหาระยะยาวที่กล่าวข้างต้นได้ ผู้บริหารตัดสินใจปรับรูปแบบระบบ Order Fulfillment ที่บริการกลุ่ม Superstore ด้วยการรับใบสั่งซื้อแบบออนไลน์
และปรับเปลี่ยนมาใช้ e-Invoice และ e-Payment ที่เป็น Electronic transaction แบบมาตรฐานเพื่อลดต้นทุน นอกจากนี้ยังเตรียมที่จะปรับระบบให้ใช้ใบกำกับภาษีตามมาตรฐานที่ประกาศโดยกรมสรรพกรในทันทีที่กรมสรรพกรพร้อมที่เปิดให้บริการ
ภายหลังจากได้ปรับเปลี่ยนระบบ Order Fulfillment แบบออนไลน์ร่วมกับกลุ่ม Superstores แล้ว บริษัทเตรียมจะขยายการทำธุรกรรมออนไลน์กับ Suppliers และคู่ค้าอื่นๆ เป็นการขยายผลการทำ Horizontal Integration ตลอดห่วงโซ่คุณค่า การปรับกระบวนการทั้งหมด
นอกจากเน้นการลดต้นทุนในระยะแรก ยังเป็นการเตรียมความพร้อมให้มีระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลรองรับการปรับเปลี่ยนธุรกิจที่เน้นการสร้างคุณค่าให้ลูกค้า (Customer Value Creation)
ต่อไป การทำ Horizontal Integration นี้เริ่มด้วยระบบงานหลักๆ เช่นระบบที่เกี่ยวกับการบริการ Online Replenishment ระบบที่ทำงานร่วมมือกับโรงงานอาหารอื่นในการ Optimize ระบบโลจิสติกส์เชื่อมโยงกับ Distribution Centers และคลังสินค้าที่กระจายอยู่ทั่วประเทศของแต่ละโรงงานอย่างมีประสิทธิภาพ
เกิดการประหยัดให้แก่ทุกโรงงานที่อยู่ในเครือข่าย แต่ทั้งนี้บริษัทจะต้องปรับปรุงระบบคลังสินค้าให้มีความ Smart มากขึ้นโดยใช้ RFID และระบบ Robotics ช่วยในการกำหนดตำแหน่งสินค้าและการขนสินค้าขึ้นรถด้วยระบบอัตโนมัติ
ขั้นที่ 3 Servitization
ขั้นที่ 1 และขั้นที่ 2 ที่กล่าวข้างต้นเป็นการ Digitize กระบวนการทำงานทั้งระดับ Vertical Integration และ Horizontal Integration เพื่อให้ระบบงานภายในบริษัทมีประสิทธิภาพ เน้นที่ลดต้นทุนและร่วมมือกับพันธมิตรซึ่งจำเป็นถ้าธุรกิจต้องการปรับเปลี่ยนให้ธุรกิจที่มีทักษะด้าน Value Creation เป็นจุดเริ่มต้นที่จะปรับเปลี่ยนรูปแบบธุรกิจจาก Product-centric เป็น Customer-centric
เนื่องจากบริษัทขนมไทยตั้งใจที่จะลดการพึ่งพากลุ่ม Superstores และหันมาสร้างธุรกิจจากกลุ่มร้านค้าย่อยทั่วประเทศที่มีผลตอบแทนสูงกว่าการสร้างกลยุทธ์เพื่อให้เกิด Customer value แก่กลุ่มร้านค้าย่อยจึงเป็นปัจจัยสำคัญแห่งความสำเร็จ ประกอบด้วย
– เพิ่มจำนวนรถแวน (Van) นำสินค้าไปขายตรงตามร้านค้าย่อยกลยุทธ์นี้ถือได้ว่าเป็นการบริการขายถึงที่เพื่อเติมสินค้าเป็นรายวัน
– บริษัทได้รับอนุญาตจากกรมสรรพกรให้ใช้เครื่อง Mobile POS ต่อออนไลน์กับระบบคอมพิวเตอร์ของสำนักงานใหญ่ เพื่อออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ ณ จุดขายได้ รายการขายทั้งหมดจะถูกบันทึกไว้ในฐานข้อมูลกลางของบริษัทผ่านอินเทอร์เน็ตไร้สาย
– บริษัทจะทำรายงานวิเคราะห์การขายของแต่ละร้านค้า เพื่อแนะนำการสะต๊อกสินค้ากลุ่มที่ขายดีและกำไรดี เพื่อให้ร้านค้าย่อยมีกำไรสูงสุด
สำหรับกลุ่มลูกค้ารายใหญ่ คือกลุ่ม Superstores นั้น บริษัทยังเสนอบริการผลิตสินค้า OEM ตีตราของ Superstore เองด้วย อีกทั้งบริการร่วมออกแบบสินค้ารวมทั้งการออกแบบ Packing ตามความต้องการของ Superstore ทั้งหมดสามารถทำงานร่วมกันผ่านระบบออนไลน์ได้ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นการให้บริการแบบ Mass Customization ที่เป็น Customer value อย่างแท้จริง
There are no comments at the moment, do you want to add one?
Write a comment