ก.ดีอีเอส-ดีป้า จับมือพันธมิตรพบนายกรัฐมนตรี

“ก.ดีอีเอส-ดีป้า” จับมือพันธมิตรพบนายกรัฐมนตรี ก่อนประชุม ครม.สัญจร แสดงดิจิทัลโซลูชัน ยกระดับประสิทธิภาพการทำงาน-พัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชน
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม โดย สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล นำกลุ่มพันธมิตร ร่วมออกบูธนิทรรศการ พร้อมต้อนรับนายกรัฐมนตรีและคณะ ก่อนการประชุมคณะรัฐมนตรีสัญจร
เพื่อนำเสนอโครงการดิจิทัลโซลูชั่นที่นำมาประยุกต์ใช้ในพื้นที่เพื่อช่วยยกระดับประสิทธิภาพการบริหารจัดการงานและคุณภาพชีวิตประชาชน รองรับยุคเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัล
พุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส)พร้อมด้วย ดร.ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการใหญ่ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลหรือดีป้านำคณะผู้แทนจาก บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส บริษัท เวริลี วิชั่น จำกัด และผู้พิการโดยชมรมธีราทรเพื่อผู้พิการร่วมออกบูธนิทรรศการ พร้อมให้การต้อนรับ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และคณะ ก่อนการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) สัญจร ณ โรงแรมสตาร์ คอนเวนชัน เพื่อนำเสนอข้อมูลโครงการดิจิทัลโซลูชันเด่นที่นำมาประยุกต์ใช้ในพื้นที่ประกอบด้วย
1. แอปพลิเคชัน depa PM2.5 ที่ถูกพัฒนาขึ้นร่วมกันระหว่าง สถาบันไอโอทีและนวัตกรรมดิจิทัลดีป้า และ เอไอเอส เพื่อเป็นเครื่องมือให้ประชาชนในพื้นที่โครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ประกอบด้วยจังหวัดชลบุรี ระยอง และฉะเชิงเทรา ใช้รับมือกับปัญหาฝุ่นละอองและมลพิษ พร้อมยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชนในพื้นที่ สอดรับลักษณะการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ (Smart City) ด้านสิ่งแวดล้อมอัจฉริยะ (Smart Environment)
โดยได้ดำเนินการติดตั้งเซนเซอร์ตรวจวัดอุณหภูมิ ความชื้น และฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 เพื่อส่งข้อมูลต่างๆที่ตรวจวัดได้ไปยัง “Magellen”ไอโอทีแพลตฟอร์มของเอไอเอสด้วยเครือข่าย NB-IoT เพื่อประมวลผลก่อนรายงานข้อมูลทั้งหมดผ่านแอปพลิเคชันแบบเรียลไทม์
2. Container Truck Gate Automationโดย เวริลี วิชัน เครือข่ายดิจิทัลสตาร์ทอัพของ ดีป้า ที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการการทำงานบริเวณทางเข้าออกท่าเรือสำหรับผู้ให้บริการท่าเรือสินค้า ผู้ให้บริการลานตู้คอนเทนเนอร์สินค้า ผู้ให้บริการคลังสินค้า และโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ไม่ว่าจะเป็นการเก็บข้อมูล ให้กับวิสาหกิจชุมชน
ทั้งในและการอ่านป้ายทะเบียนรถบรรทุกอัตโนมัติด้วยเทคโนโลยี Deep Learning ที่ใช้งานร่วมกับกล้องวงจรปิด และเซนเซอร์ พร้อมรองรับการทำงานของระบบช่องทางเดินรถแบบบริการตนเองอัตโนมัติ (Gate Kiosk) เพื่อให้คนขับรถสามารถยืนยันตัวตนและส่งข้อมูลเพิ่มเติมได้ โดยโครงการดังกล่าวสอดรับการพัฒนาเมืองอัจฉริยะด้านการเดินทาง ขนส่งอัจฉริยะ(Smart Mobility)
3. โครงการเกษตรอัจฉริยะหนุนเสริมกลุ่มครอบครัวผู้พิการโดยชมรมธีราทรเพื่อคนพิการในอำเภอแกลง จังหวัดระยอง โดย ดีป้าเข้ามามีส่วนช่วยส่งเสริมให้สมาชิกในชมรมประยุกต์ใช้อุปกรณ์ไอโอทีกับระบบ Smart Farming ในการควบคุมการให้น้ำแปลงผักแบบอัตโนมัติผ่านการส่งสัญญาณจากเซนเซอร์หรือโทรศัพท์มือถือ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้พิการในการดูแลผลผลิต ยกระดับคุณภาพชีวิต และเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกรจาก 1,500 บาทเป็น 1,800 บาทต่อเดือนต่อคน
ดร.ณัฐพล กล่าวว่า ดีป้า มุ่งส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัล เพื่อยกระดับประสิทธิภาพการบริหารจัดการองค์กรและงาน อีกทั้งช่วยส่งเสริมและสนับสนุนให้ชุมชนต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่นด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลที่ได้มาตรฐาน ขณะเดียวกัน ชุมชนจะเป็นผู้เลือกใช้เทคโนโลยีดิจิทัลที่เหมาะสมกับบริบทของตนเองจากรายการเทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลที่ขึ้นทะเบียนมาตรฐาน
หรือได้รับการรับรองโดยสำนักงานฯ“ดีป้า จะไม่คิดแทน ทำแทน หรือทำให้ แต่จะสอนให้ชุมชนคิดเป็น ทำเป็น และทำได้ เพื่อส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ ตรวจสอบ และวิเคราะห์การใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ก่อนนำไปใช้ประโยชน์ ซึ่งปัจจัยดังกล่าวจะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชนอย่างยั่งยืน อีกทั้งยังเป็นการเตรียมความพร้อมประเทศก่อนเข้าสู่ยุคประเทศไทย 4.0 ในอนาคตอันใกล้” ผู้อำนวยการใหญ่ ดีป้า กล่าว
There are no comments at the moment, do you want to add one?
Write a comment